東京本院 วัดพระธรรมกายโตเกียว

วัดพระธรรมกายโตเกียว

การเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีที่ดีในด้านพระพุทธศาสนาประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อครั้งที่มีพระภิกษุซึ่งเป็นตัวแทนของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์(หลวงพ่อธัมมชโย)จากวัดพระธรรมกาย  ได้เดินทางมาที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2533 การเดินทางมาในครั้งนี้พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยะคุณ(หลวงพ่อทัตตชีโว) รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย  ได้เดินทางมาประกอบพิธีถวายพระพุทธรูปแด่ “วัดโคคุไทจิ”  ในจังหวัดฮิโรชิม่าโดยมี “ท่านเจ้าอาวาสฟุคุฮะระ เทสิเกน” เป็นผู้รับมอบในครั้งนั้น

タンマガーイ寺院が日本で活動を始めるきっかけとなったのは、1990年10月18日、タンマチャヨー住職の命を受け、タッタチーウォー副住職がターナヴットー比丘と共に、広島県にある国泰寺(当時:福原哲巌住職)というお寺に仏像を安置しに来日したことでした。

ต่อมาในปี พ.ศ.2534  พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ได้รับมอบหมายจากพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์(หลวงพ่อธัมมชโย)ให้เดินทางมาศึกษาต่อยังประเทศญี่ปุ่น ณ มหาวิทยาลัยโตเกียว ในระดับปริญญาโท โดยศึกษาวิจัยด้านพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม ซึ่งในขณะนั้นเองก็ได้เช่าหอพักนักศึกษานานาชาติชื่อว่า “โซชิกะยะ” เขตเซตะกะยะ เป็นที่พักและใช้ในการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ต่อมาเนื่องจากทางหอพักไม่สะดวกในการจัดกิจกรรมจึงได้ย้ายมาจัดที่ห้องอาหารลานไทย ซึ่งเป็นร้านอาหารของชาวไทยที่ได้มาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์อยู่เป็นประจำ การจัดปฏิบัติธรรมทั้ง 2 ที่นี้มีทั้งกลุ่มนักเรียนไทย , แม่บ้านที่เป็นชาวไทยในญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่ได้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมทุกวันอาทิตย์เป็นประจำทุกต้นเดือน ซึ่งในขณะนั้นมีพระมหาสมชาย  ฐานวุฑโฒ อยู่เป็นพระอาจารย์เพียงรูปเดียวเท่านั้น ในช่วงปีพ.ศ. 2537 – 2538  พระอาจารย์ท่านเทศน์สอนและแจ้งข่าวบุญเพื่อหาทุนทรัพย์ใช้ในการจัดหาสถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาโดยตลอด

1990年10月10日来日、ターナヴットー比丘はタンマチャヨー住職の使命を受け、さらに深く原始仏教を学ぶために、東京大学大学院へ入学しました。ターナヴットー比丘は、留学に際し、世田谷区にある「祖師谷」という留学生寮を借り、日本での生活を始めました。また、この部屋を仏教の儀式を行う場所としても使用していました。時と共に仏教行事に参加する方が増え、小さな寮の部屋では人が入りきれなくなってしまいました。そこで、いつも瞑想にやってきていたタイ人が働くレストラン「ラーンタイ」でタイ人学生や結婚をして日本で暮らすタイ人、日本人に対して毎月1度瞑想会を行うようになりました。瞑想会は1991~1992年まで毎月、ターナヴットー比丘が一人で瞑想指導、説法とすべてを行っていました。

จนในปี พ.ศ. 2539 ได้มีพระภิกษุเดินทางมาอยู่จำพรรษาเพิ่มอีก 3 รูป และได้เช่าอาคารชื่อว่าอิเดะโคะโปะ(Ide corporation) เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดปฏิบัติธรรมและเป็นที่พักของคณะพระภิกษุและอุบาสกอุบาสิกา  ซึ่งอยู่ที่ คิตะคุ อะคะบะเนะ ในจังหวัดโตเกียว และได้ทำการเปิดใช้งานเป็นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539  นับเป็นจุดเริ่มต้นครั้งแรกของการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศญี่ปุ่นแห่งแรกซึ่งเป็นที่ที่สามารถรองรับสาธุชนได้มากขึ้น และได้มีการจัดสอนธรรมะทุกวันอาทิตย์ มีสาธุชนทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาศึกษาธรรมะเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งสถานที่เริ่มคับแคบลงทางคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติธรรมจึงมีมติว่าจะต้องหาสถานที่เช่าใหม่ที่กว้างกว่านี้ในการทำงานพระพุทธศาสนา และหลังจากนั้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 จึงได้เช่าสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งที่ 2 ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งแรกมากนัก เป็นอาคารชื่อว่า คาเนะโกะ ซึ่งมีขนาดกว้างขวางและใหญ่กว่าเดิมสามารถรองรับสาธุชนได้กว่า 100 ท่าน  และได้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งที่ 2 นี้จัดงานบุญและปฏิบัติธรรมมาอย่างตลอดต่อเนื่อง      มีการเทศน์สอนและปฏิบัติธรรมทุกวันอาทิตย์ทำให้มีสาธุชนเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทำให้สาธุชนที่มาปฏิบัติธรรมมากันจนแน่นเต็มห้องปฏิบัติธรรม ทำให้ในการจัดงานบุญใหญ่แต่ละครั้งจึงต้องจัดงานนอกสถานที่โดยเช่าสถานที่ของทางราชการชื่อว่า อะคะบะเนะคัยคัง ซึ่งเป็นหอประชุมใหญ่ในการจัดงาน ซึ่งงานบุญใหญ่แต่ละครั้งจะมีญาติโยมเดินทางมาบำเพ็ญบุญเป็นจำนวนมากกว่าพันคน จึงมีความคิดกันว่าจะต้องหาสถานที่ถาวรในการสร้างวัดในประเทศญี่ปุ่นขึ้นมา

1994年、タイ総本山から3名の僧侶が来日しました。そのため、赤羽根にある井出コーポというアパートを借り、儀式の会場とすると共に僧侶、優婆塞、優婆夷の宿舎としました。同年5月の第一日曜日に瞑想会が開始され、毎週日曜日には多くのタイ人が訪れるようになりました。タイ人、日本人と来院される方が増え、アパートではすべての人を収容することが難しくなり、他の場所を探さざるを得なくなりました。そして10月、井出コーポの近くにあった第2番目となる瞑想所「金子」という建物を借りることが出来ました。ここは100名を収容出来る場所でした。場所が大きくなったこともあり、訪れる人もあっという間に増えました。2年経ったときには、大きな儀式は約1千名の方が集まるようになり、赤羽会館を借りて行わなければならないほどになりました。仏教を求める人々がこのように増えたことを目の当たりにし、日本に寺院を開く必要があると誰もが思うようになりました。

หลังจากนั้น ญาติโยมสาธุชนต่างเรียกร้องให้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรม ที่ถาวรที่ไม่ต้องเช่าอีก โดยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่  และจากความร่วมแรงร่วมใจของทุก ๆ ท่าน ที่ช่วยกันสนับสนุน ในที่สุดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543จึงได้จัดซื้ออาคารพาณิชย์ 6 ชั้น เป็นอาคารคอนกรีต ซึ่งมีพื้นที่อาคารรวมประมาณ 1,400  ตารางเมตร อยู่ที่เขตอะระคะวะ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียว และได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารให้เหมาะในการใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม

この声は日々大きくなりました。寺院に関わるすべての人が寺院の開設のために協力し合い、2000年3月、6階建て1400㎡あるビルを購入し、瞑想をする場所としてふさわしい形へと内装工事を行いました。

จึงได้กลายมาเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งที่ 3  ซึ่งได้จัดพิธีเปิดสถานที่ปฏิบัติธรรมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2543 โดยได้รับเกียรติจากอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรมของประเทศไทย คุณนงนุช อิงคะวะระ เป็นประธานในพิธีเปิดงานและได้รับเกียรติจาก หัวหน้าของหมู่บ้านเขตอะระคะวะมาเป็นตัวแทนของชาวญี่ปุ่นในการกล่าวคำแสดงความยินดีและเป็นประธานเปิดงานด้วย โดยศูนย์ปฏิบัติแห่งที่ 3 นี้ มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “国際法身瞑想センター(KOKUSAIHOSHINMEISOU CENTER)” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “DHAMMAKAYA MEDITATION CENTER OF JAPAN” แต่จะเป็นที่รู้จักของชาวไทยในชื่อว่า “ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียว”

そして、同年5月21日、在京タイ大使館のノンヌッチ インカワラ氏、荒川区長を招き、オープニングセレモニーを行いました。3番目のこの場所は「国際法身瞑想センター(英語:DHAMMAKAYA MEDITATION CENTER OF JAPAN/タイ語:スーンバティバッタム・トウキョウ」と名付けられました。

ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2545 ศูนย์ปฏิบัติธรรมโตเกียวได้รับอนุมัติให้เป็นองค์กรศาสนาโดยได้รับการรับรองจากผู้ว่าราชการจังหวัดโตเกียว ทำให้ได้รับการจดทะเบียนเป็นองค์กรนิติบุคคลทางพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการและเป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองจากทางหน่วยงานราชการเพราะด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของสาธุชน และคณะพระภิกษุสงฆ์ โดยใช้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “宗教法人タイ国タンマガーイ寺院(SHUKYOHOJIN THAIKOKUDHAMMAKAI JIIN)”ซึ่งเป็นการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมถาวรแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่น

その後、2002年11月22日に東京都より宗教法人の認可を頂き、日本で初となる、正式なタイの寺院が誕生しました。認可に伴い、寺院名を「宗教法人タイ国タンマガーイ寺院」と改名しました。

ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้เมตตาให้ยกระดับให้สถานที่ปฏิบัติธรรมที่ใช้ชื่อ “ศูนย์ปฏิบัติธรรม”นำหน้าและเป็นสถานปฏิบัติธรรมถาวรในประเทศญี่ปุ่น  ให้เปลี่ยนเป็น”วัดพระธรรมกาย” นำหน้าแทน จึงได้ใช้ชื่อเป็น  “วัดพระธรรมกายโตเกียว”  จนถึงปัจจุบันนี้

2008年、総本山タンマチャヨー住職よって、タイの名称としてしていた「スーンバティバッタム・トウキョウ」から「ワットプラタンマガーイ・トウキョウ」とタイ語名も改名することとなりました。

เมื่อพระพุทธศาสนาได้เริ่มต้นปักหลักในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ญาติโยมที่อาศัยอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน เช่าสถานที่เพื่อจัดงานบูชาข้าวพระพุทธเจ้าทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน โดยนิมนต์พระภิกษุมาทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำ จนกระทั่งญาติโยมต่างมีศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่องๆ รวมทั้งจำนวนญาติโยมที่มาร่วมงานก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการนิมนต์พระภิกษุจากวัดพระธรรมกายมาอยู่จำพรรษาโดยการเช่าสถานที่และเมื่อมีความพร้อมจึงได้ซื้ออาคารและสถานที่ที่เหมาะสมสร้างเป็นวัดพระธรรมกายในปัจจุบันนี้ซึ่งมีวัดสาขาของวัดพระธรรมกายดังนี้คือ

วัดพระธรรมกายโอซาก้า เปิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2543

วัดพระธรรมกายนางาโน่ เปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546

วัดพระธรรมกายโทชิหงิ เปิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2547

วัดพระธรรมกายคานากาว่า เปิดเมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2547

วัดพระธรรมกายอิบาราขิ เปิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2549

วัดภาวนาไซตะมะ เปิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2551

วัดภาวนายามานาชิ เปิดเมื่อวันที่12 กรกฏาคม 2552

วัดภาวนานาโกย่า เปิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554

以降、これまでに8カ所開設されています。

 

2000年3月27日 タンマガーイ寺院大阪別院

 

2003年2月28日 タンマガーイ寺院長野別院

 

2004年4月24日 タンマガーイ寺院栃木別院

 

2004年7月24日 タンマガーイ寺院神奈川別院

 

2006年9月10日  タンマガーイ寺院茨城別院

 

2008年6月8日   タンマガーイ寺院埼玉別院

 

2009年7月12日  タンマガーイ寺院山梨別院

 

2011年1月1日   タンマガーイ寺院名古屋別院

日曜日の活動予定は以下の通りです。

10.00 托鉢
11.00   お経・瞑想
※別院により、時間と内容に多少異なる場合があります。


วัดพระธรรมกายโตเกียว

Cmaptokyo

東京本院
宗教法人 タイ国タンマガーイ寺院東京本院
〒 116-0002 東京都荒川区荒川 3-78-5
Tel. 03-5604-3021 Fax. 03-5604-3022
Wat Phra Dhammakaya Tokyo
3-78-5 Arakawa, Arakawa-ku, Tokyo, Japan, 116-0002
Tel. +(81) 3-5604-3021, Fax. +(81) 3-5604-3022
Email : [email protected], [email protected], [email protected]
Website:  www.dhammakaya.jp/tokyo
GPS: 35.736188, 139.777078