タイは本当に仏教国なのだろうか

タイは本当に仏教国なのだろうか。なぜ法律を使い僧侶を排除しようとするのか。

出家得度とは、新しくお釈迦様の教えのもとに生まれるということです。出家した日から僧侶としてゼロから歳を重ねることになります。80歳で出家した僧侶でも、自分より1日でも早く出家した20歳の先輩僧侶には敬意をもって合掌をしなければなりません。
現在のタイの法律は僧侶に対し不義なもになってきています。僧侶が告訴される側になると、調査のために拘置や裁判所が保釈の許可を出さない場合、強制的に還俗させらされてしまいます。還俗とは、一瞬にしてこれまで積み上げてきた僧侶の道を絶たれてしまうということです。たとえ、その案件が事実かどうか判断がされていなかったとしてもです。「間違っていなければまた出家できる」と軽く考えられているのでしょう。
もし僧侶と同じような法律が一般の事件で適応されるとこんな風になります。突然、告訴され、拘置され、保釈も許されず、真実かどうかまだ司法の判断を受けていないときに、法律に記載されているからまず死刑を執行します。でも大丈夫。もし無罪ならまた生まれ変われますよと言われるようなものです。この法律の不義は誰にでも見るからにわかるはずです。
かつて、同じように僧侶が告訴され、保釈を許されず還俗させられた事件がありました。テープシリ寺院のウドム元僧侶にかけられた容疑は当時タイのニュースをにぎわせていました。しかし最終的に問題はなく無罪という結果になり、強制還俗後に釈放となりました。一体誰がこれらの責任を取ってくれるのでしょうか。僧侶にとって還俗とは死ぬことと同じです。身に覚えのない不義による容疑で殺されたのです。
タイの法律では、事実確認の前に告訴し、容疑者を拘束し、裁判にて事実かどうかを争うのです。これはとても危険な制度です。僧侶や沙弥はいつでも強制的に還俗させられることができるからです。
タンマガーイの事例をあげましょう。タンマガーイ寺院は1か月の間に300もの告訴をされました。そして裁判所に保釈を認めないようにと通達がされています。真相が明らかになる前に、僧侶は強制還俗という死の宣告をされているのです。
イスラム教徒達には彼らの独自の法律(イスラム法)が認められています。
仏教を冒涜し、僧侶に死をもたらす法律を変える時が来ているのでないだろうか。このように法律の改正すれば、公正が保たれるのではないかと思います。
1.有罪が決定されるまで強制還俗を行わない。
2.僧侶に現状の告訴制を施行しない。
3.僧侶の事件について裁判を行うためのサンガの裁判組織を立ち上げ、僧侶の代表がその裁判の審判に加わる。サンガ法と一般法律を突き合わせて証拠が十分でなければそれで終了し、十分な証拠があるならば、きちんとした手順で裁判を続行する。
4.立場を尊重し、寺院の中の適した場所で尋問を行う。
5.世間の大きな関心を受ける事件については、同じ僧侶の戒律を持つ世界各地の仏教連盟をオブザーバーとして招く。

『僧侶にとって還俗という死を招く告訴制度を廃止してください』
って還俗という死を招く告訴制度を廃止してください』

 

“ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธจริงหรือ ทำไมใช้กฎหมายแกล้งฆ่าพระ”

การบวชคือ การเกิดใหม่ในธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อายุพรรษาจะเริ่มนับตั้งแต่วันบวช ผู้มีอายุ 80 ปีแล้วเพิ่งบวช ก็ต้องเคารพกราบไหว้พระหนุ่มอายุ 20 ปี ที่บวชก่อนแม้เพียงวันเดียว

กฎหมายของไทยในปัจจุบัน มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อพระภิกษุ กล่าวคือ พระภิกษุเมื่อตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา หากพนักงานสอบสวนเห็นว่าต้องควบคุมตัวไว้ หรือศาลไม่ให้ประกันตัว ก็ต้องสึก ขาดจากความเป็นพระทันที ทั้งที่คดียังไม่ได้พิพากษา คิดเอาง่ายๆว่า “ถ้าไม่ผิดก็บวชใหม่ได้”

เปรียบเทียบกับคดีของคนทั่วไป หากผู้ต้องหาถูกควบคุมตัว แล้วมีกฎหมายระบุว่า ให้ประหารชีวิตก่อนเลย โดยให้เหตุผลว่า “ถ้าคดีพิพากษาแล้วไม่ผิด ก็ไปเกิดใหม่ได้” ทุกคนย่อมเห็นตรงกันว่าเป็นกฎหมายที่อยุติธรรมอย่างยิ่ง

เคยมีพระภิกษุที่ถูกจับสึกเพราะพนักงานสอบสวนไม่ให้ประกันตัวหลายราย อาทิ เจ้าคุณอุดม วัดเทพศิรินทร์ ในคดีเครื่องราชฯ เป็นข่าวครึกโครม แต่สุดท้ายศาลฎีกาพิพากษาว่าท่านไม่มีความผิด ใครจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น และท่านก็ต้องตายไปด้วยความช้ำใจต่อความอยุติธรรมที่ตนได้รับ

ยิ่งกฎหมายเมืองไทยเป็นระบบกล่าวหา คือเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหาไปก่อน แล้วให้จำเลยไปแก้คดีที่ศาล ยิ่งอันตรายมาก เพราะพระภิกษุสามารถถูกแกล้งจับสึกได้ตลอดเวลา

ดังตัวอย่างวัดพระธรรมกายถูกแจ้งความดำเนินคดีถึง 300 กว่าคดีในเวลาเพียงหนึ่งเดือน และมีนโยบายว่า ทุกคดีให้ส่งศาลขอฝากขัง คัดค้านการประกันตัว พระก็ต้องเสี่ยงกับการถูกจับสึก ตั้งแต่ศาลยังไม่พิพากษาหลายร้อยครั้ง พลาดแม้เพียงครั้งเดียว ก็ต้องตายไปจากความเป็นพระทันที

อิสลามยังเรียกร้องให้ออกกฏหมายชารีอะห์ สำหรับชาวอิสลาม
ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่จะต้องยกเลิกกฎหมายมักง่าย เป็นเครื่องทำลายพระพุทธศาสนา ฆ่าพระภิกษุจากพระธรรมวินัย ดังนี้
1. ห้ามสึกพระโดยที่คดียังไม่ได้พิพากษาจนถึงที่สุด
2. ห้ามใช้ระบบกล่าวหากับพระภิกษุ
3. คดีของพระภิกษุ ให้ตั้งศาลสงฆ์ มีคณะพิจารณาไต่สวนเฉพาะ มีผู้แทนคณะสงฆ์เข้าร่วมพิจารณาด้วย โดยยึดหลักพระวินัยร่วมกับกฎหมายทางโลก ถ้าหลักฐานไม่พอก็จบกันไป ถ้าหลักฐานพอก็ดำเนินคดีไปตามกระบวนการยุติธรรม
4. การพิจารณาไต่สวนให้ทำในวัดที่เหมาะสม ไม่เสียสมณสารูป
5. คดีใหญ่ที่เป็นที่สนใจ ให้เชิญองค์กรพุทธทั่วโลกร่วมสังเกตการณ์ด้วย เพราะพระภิกษุทั้งโลกก็ใช้พระวินัยของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน

“หยุดฆ่าพระภิกษุจากสมณเพศ หยุดระบบกล่าวหาต่อพระภิกษุ”